วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพงหรือครอสโอเวอร์ค ทำหน้าที่แยกเสียงลำโพงออกเป็นช่วงๆ ตามความถี่เสียงที่เหมาะสมต่อการทำงานของลำโพงแต่ละตัว ทำให้ลำโพงขับเสียงออกมามีความสมบูรณ์ ชัดเจน นุ่มนวล และความถี่ถูกต้อง โดยไม่เกิดเสียงหักล้างกันหรือเสียงเสริมกัน การกำหนดจุดตัดข้ามความถี่เสียงต้องคำนวณถึงการตอบวนองความถี่เสียงของลำโพง ควรพิจารณาที่ลำโพงเสียงทุ้มเป็นหลัก
วงจรแยกเสียงลำโพงเป็น 2 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 2 ช่วงความถี่ คือ ความถี่ต่ำเสียงทุ้ม และความถี่สูงเสียงแหลม แยกวงจรแยกเสียงลำโพงออกไดเป็นออร์เดอร์มี 4 ออร์เดอร์ ออร์เดอร์ที่นิยมใช้งานเป็นแบบออร์เดอร์ที่ 2 ความลาดเส้นกราฟที่จุดตัดข้าม 12 dB/ออกเตฟ ใช้ค่า L, C จัดวงจรอย่างละ 2 ตัว การเลือกค่า L, C มาใช้งานต้องเลือกค่าที่เหมาะสม เพื่อให้วงจรทำงานได้สมบูรณ์
วงจรแยกเสียงลำโพง 3 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 3 ช่วง ความถี่ คือความถี่ต่ำเสียงทุ้ม ความถี่กลางเสียงกลาง และความถี่สูงเสียงแหลม ความถี่ที่ใช้ในจุดตัดข้ามความถี่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำโพงเสียงทุ้มการต่อลำโพงเข้ากับวงจรเสียงลำโพง ต้องคำนึงถึงขั้วบวก-ลบ ทั้งของวงจรแยกเสียงและของลำโพง ต้องต่อให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้การทำงานของลำโพงทุกตัวมีเฟสการทำงานเหมือนกัน
การต่อใช้งานลำโพงหลายตัวมีประโยชน์ในการใช้งานหลายประการ คือ ช่วยให้เกิดทิศทางการแพร่กระจายคลื่นเสียงครอบคลุมในบริเวณที่ต้องการ ช่วยเพิ่มความดังของเสียงที่ขับออกมาจากลำโพงแต่ละตัว สามารถเฉลี่ยภาวการณ์ทำงานให้ลำโพงทุกตัวได้ และช่วยปรับค่าอิมพีแดนซ์ลำโพงให้เหมาะสมกับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงหลายตัวทำได้ 3 แบบ คือต่ออนุกรมช่วยเพิ่มอิมพีแดนซ์ลำโพงให้สูงขึ้น ต่อขนานช่วยลดอิมพีแดนซ์ลำโพงให้ต่ำลง และต่อผสมช่วยเพิ่มจำนวนการต่อลำโพงได้มากขึ้น
การต่อลำโพงระยะไกลต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังนี้ ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ต่ำต่อสายได้สั้น ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ยิ่งสูงขึ้น สามารถต่อสายได้ยากขึ้น ใช้สายเส้นเล็กความต้านทานของสายสูงต่อสายได้สั้น ใช้สายเส้นใหญ่ใช้ความต้านทานของสายต่ำลงต่อสายยาวมากขึ้น สิ่งที่ต้องเพิ่มในการต่อลำโพงระยะไกลคือไลน์แมตชิ่งทรานส์ฟอร์มเมอร์ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดอิมพีแดนซ์คงที่ และชนิดแรงดันคงที่

วงจรป้องกันลำโพงเเละหน่วงเวลา

Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์.............................ขนาด 20A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อแอมป์ขนาด1000+1000W
ใช้ไฟเลียงวงจร........................ AC หรือ DC 12Vถึง24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย

Speaker Protections.............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์..............................ใช้รีเลย์ขนาด 30A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์กำลังวัตต์ขนาด1500+1500W
วงจรพิเศษ..............................ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V1.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 5 เส้นแต่สามาร
                                                     แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย

Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo 
ขนาดรีเลย์...............................ใช้รีเลย์ขนาด 20A จำนวน4ตัวขนานกันทำให้เพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์ขนาด2000+2000W
วงจรพิเศษ..............................ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo ระบบ Dual หรือ แยกกันทำงาน  ซ้าย-ขวา อิสระ
                                                    ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V2.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 6 เส้นแต่สามาร
                                                    แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V 
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines 
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย
การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียง
 


           เครื่อง ขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว

การต่อลำโพงตัวเดียว
           การต่อลำโพง ตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม

การต่อลำโพงหลายตัว
           การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
ดังนี้
          1. การต่อแบบอนุกรม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่หากมีลำโพงตัวหนึ่ง ตัวใดชำรุด
จะทำให้ลำโพง ทุกตัวเงียบหมด เนื่องจาก การตัดตัวเชื่อมต่อ ของวงอนุกรม นั่นเอง
สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ

หากมีลำโพง 3 ตัว คือ 8 , 8 , 16 จะคำนวณได้
 
การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 32 โอห์ม


          2. การต่อแบบขนาน เป็นวิธีการต่อนิยมมาก เนื่องจากหากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังคงใช้งานได้ตามปกติ


หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 8 , 8 จะคำนวณได้
สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ

นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว

การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม


          3. การต่อแบบผสม เป็น การใช้การต่อลำโพงแบบอนุกรมและแบบขนานร่วมกัน สำหรับสูตร ในการคิดคำนวณ ให้คิดค่า ของความต้านทาน ของการต่อลำโพงแบบอนุกรมก่อน แล้วจึงนำมาต่อลำโพงแบบขนาน เช่น มีลำโพง 3 ตัว สองตัวมีความต้านทานตัวละ 4 โอห์ม นำมาต่อแบบอนุกรม และ อีกตัวเป็น 8 โอห์ม นำมาต่อเข้ากับ สองตัวแรกแบบขนาน หาค่าความต้านทานว่า เป็นจำนวนทั้งสิ้นกี่โอห์ม
สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ

หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 4 , 4 จะคำนวณได้

สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ


นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว


ดังนั้นหลังจากคิดคำนวณได้จะต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม นั่นเอง

คอมแพคดิสก์
ความหมาย
          CD-ROM คือ วัสดุที่บันทึกข้อมูลทั้งที่เป็น ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง ในรูปแบบของพลาสติกทรงกลมแบนราบ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้อย่างมากมาย ไปเปิดใช้ได้อย่างสะดวก CD-ROM ย่อมาจาก “Compact Disc-Read Only Memory“

คุณสมบัติ

คุณสมบัติของ CD-ROM
            ความจุข้อมูลมหาศาล ซึ่งสามารถเปรียบได้กับความจุของ หนังสือ 250,000 เล่ม ข้อความในกระดาษพิมพ์ดีด 300,000 แผ่น หนังสือสารานุกรม 1 ชุด จำนวน 24 เล่ม ภาพสี 5,000 ภาพ ข้อมูลในแผ่น Floppy disk 1.44 เมกกะไบต์ 460 แผ่น
บันทึกข้อมูลนานาประเภท
            ตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก เสียงพูด เสียงดนตรี
การสืบค้นฉับไว
                การค้นหาข้อมูลใช้ลักษณะ “เข้าถึงโดยสุ่ม” (random access) ทำให้สามารถค้นหาได้โดยใช้เวลาเพียง 1 วินาที
มาตรฐานสากล
                CD-ROM มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ใช้กับหน่วยขับหรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วๆ ไปได้เหมือนกัน
ราคาไม่แพง
                การที่มีผู้นิยมใช้ CD-ROM มากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ราคาต่ำลงจนสามารถหาซื้อได้อย่างแพร่หลาย
อายุการใช้งานนาน
            CD-ROM อาจอยู่ได้ตลอดไปโดยที่แผ่นจะไม่เกิดการเสียหาย แต่ก็มีบางคนกล่าวว่า น่าจะอยู่ได้เพียง 10-15 ปี เท่านั้น อาจเนื่องจากแผ่นต้องพบกับสภาพอากาศ ความสกปรก ความชื้น เป็นต้น
ความคงทนของข้อมูล
            เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนจากสนามแม่เหล็ก และยังไม่ติดไวรัส เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไม่สามารถเขียนทับได้ ดังนั้นจึงทำให้ข้อมูลอยู่ได้ตลอดไปไม่เกิดความเสียหาย
ประหยัด
            เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น เช่นแผ่น Floppy disk เมื่อคิดโดยรวมแล้ว แผ่น CD-ROM 1 แผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 460 แผ่น ดังนั้นเมื่อเทียบราคาแล้ว ทำให้ CD-ROM มีราคาที่ต่ำกว่าอย่างมาก
ความสะดวก
            CD-ROM มีขนาดเล็ก ทั้งยังมีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ในที่ต่างๆ ได้จึงทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ในที่ต่างๆ
ชั้นและการทำงานของแต่ละชั้น
          1. ชั้นป้องกันอันตราย (Protective Layer)
เป็นชั้นที่เคลือบด้วยอคริลิคแลคเกอร์เพื่อป้องกัน
ชั้นที่ทำหน้าที่สะท้อนข้อมูลไม่ให้มีรอยขีดข่วน
          2. ชั้นสะท้อนแสง (Reflective Layer)
ฉาบด้วยทองหรือเงินที่สะท้อนลำแสงเลเซอร์กลับไปที่เซ็นเซอร์
ของเครื่องอ่านในซีดี
          3. ชั้นสี (Dye Layer)
       เลเซอร์ที่ทำหน้าที่เขียนบันทึกของซีดีจะเผารอยขีดที่เป็นข้อมูล
ให้เกิดเป็นสี ทำให้เกิดรอยขีดของข้อมูลแบบไม่โปร่งใสซึ่งจะดูด
ซับแสงที่ปกติแล้วเป็นแสงที่จะถูสะท้อนกลับไปที่เซ็นเซอร์
ของเครื่องอ่านในซีดี
          4. ชั้นที่ทำหน้าที่นำทางแก่แสงเลเซอร์ (Clear Layer)

โพลีคาร์บอเนตชั้นล่างจะมีร่องขดเป็นวงกลมทำหน้าที่ช่วยนำทางแสงเลเซอร์

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างของลำโพง

                                                       ส่วนประกอบของลำโพง

     ลำโพงที่เห็นอยู่ในท้องตลาดนั้น โดยส่วนใหญ่ลำโพงจะอยู่ในรูปของตู้ลำโพงที่อาจจะทำจากไม้หรือพลาสติกที่มีความทนทาน ซึ่งลำโพงที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จะมีตู้ลำโพงที่ทำขึ้นจากพลาสติก โดยภายในจะประกอบด้วย Driver หรือตัวดอกลำโพงซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้กำเนิดเสียง ซึ่งได้แก่ Amplifier และ Crossover Network ซึ่งอุปกรณ์ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขนาดหรือรูปแบบเสียงของลำโพงที่ออกมา จำนวนดอกลำโพงที่ใช้ก็จะมีผลต่อความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ออกมา ถ้ามีดอกลำโพงหลายตัวก็จะทำให้เสียงที่ได้ครอบคลุมย่านความถี่ของเสียงได้มากกว่า ให้รายละเอียดของทุกชิ้นเครื่องดนตรีได้ดีกว่า ลำโพงแบบ 2 ทาง จะประกอบด้วยลำโพง ของวูเฟอร์ และทวีตเตอร์ ในย่านความถี่เสียงกลางและเสียงต่ำจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ ส่วนความถี่เสียงสูงก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์ สำหรับลำโพงแบบ 3 ทาง ก็จะประกอบด้วย ซับวูเฟอร์, วูเฟอร์ และทวีตเตอร์ เสียงต่ำสุดก็จะถูกขับออกทางซับวูเฟอร์ เสียงกลางจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ และเสียงแหลมก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์
ลำโพงแบบหลายทางจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Crossover Network เป็นตัวแบ่งสัญญาณเสียงในแต่ละย่านออกจากกันและจ่ายไปให้ลำโพงที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นสองทางหรือสามทางแล้วแต่ว่าเป็นลำโพงแบบไหน นอกจากนี้ Crossover Network ยังทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของเสียงในแต่ละย่านความถี่ พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันการทำงานที่เกินกำลังของลำโพงและการป้องกันระดับความถี่ของเสียงที่สูงเกินกว่าลำโพงจะรับได้
ลำโพง Tweeter ทวีตเตอร์เป็นลำโพงที่ใช้สำหรับขับเสียงความถี่สูง โดยทั่วไปจะมีความถี่เกินจาก 1.5 KHz ขึ้นไป ลำโพง Woofer ลำโพงวูเฟอร์จะใช้สำหรับขับเสียงความถี่ต่ำ คือในระดับความถี่ไม่เกิน 1.5 KHz เนื่องจากความถี่ต่ำมีความยาวของคลื่นค่อนข้างมาก ลำโพงวูเฟอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถขับอากาศได้เพียงพอสำหรับสร้างเสียงความถี่ต่ำ ยิ่งวูเฟอร์มีขนาดใหญ่เท่าใด กำลังในการขับและความดังของเสียงเบสก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น วูเฟอร์จะใช้ในการขับเสียงกลางและเสียงต่ำ
ลำโพง Sub Woofer ซับวูเฟอร์เป็นลำโพงที่ใช้ขับเสียงความถี่ต่ำที่สุด คือในระดับความถี่ถึง 500 Hz ยิ่งขนาดของลำโพงซับวูเฟอร์มีขนาดใหญ่มากเท่าใด พลังในการขับก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ในระบบลำโพงที่มีซับวูเฟอร์จะให้เสียงในระดับความถี่ต่ำได้ดีเป็นพิเศษ